วันพฤหัสบดีที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2554

เกมส์คณิตศาสตร์

แนะนำเกมส์ที่เกี่ยวข้องกับการฝึกสมองทางคณิตศาสตร์

เกมที่ 1    - ตารางเรียงเลขมหัศจรรย์ 3x3
              - ตารางเรียงเลขมหัศจรรย์ 4x4
                 - ตารางเรียงเลขมหัศจรรย์ 5x 5
เกมที่ 2    - การบวกเลขแสนกล
              - การลบเลขแสนกล
เกมที่ 3     - สามเหลี่ยมกล(1)
                  - สามเหลี่ยมกล(2)
                  - สามเหลี่ยมกล(3)
เกมที่ 4    ตารางจัตุรัสกล 
               -  จัตุรัสกล 3x3(1) 
               -  จัตุรัสกล 3x3(2)
               -  จัตุรัสกล กลวง 3x3(1)
               จัตุรัสกล กลวง 3x3(2)
               -  จัตุรัสกล กลวง 3x3(3)
               -  จัตุรัสกล กลวง 3x3(4)
               -  จัตุรัสกล กลวง 3x3(5)
               -  จัตุรัสกล กลวง 3x3(6)
               -  จัตุรัสกล กลวง 4x4 (1)
               -  จัตุรัสกล กลวง 4x4 (2)
               -  จัตุรัสกล 5x5
               จัตุรัสกล กลวง5x5(1)
               จัตุรัสกล กลวง5x5(2)
เกมที่ 5     คณิคคิดสนุก 
                   -  ชุดที่ 1
                   -  ชุดที่ 2
                   -  ชุดที่ 3

เกมที่ 6    เกมหนอนแทะ
              ชุดที่ 1
              ชุดที่ 2
              ชุดที่ 3
เกมที่ 7  เกมตารางปริศนา 7x 7
เกมที่ 8  สามเหลี่ยมสมองไว
เกมที่ 9  เกมทำให้เป็นจริง
เกมที่ 10 เกมสามเหลี่ยมชวนคิด
เกมที่ 11  เกม 12  จำนวนชวนสนุก
เกมที่ 12  เกมเลข 4  มหัศจรรย์
เกมที่ 13  เกมเลข  5  พาเพลิน
เกมที่ 14  เกมเลขโดดมหัศจรรย์
เกมที่ 15  เกมสามเหลี่ยมชวนคิด
เกมที่ 1  รูปเหลี่ยมแสนกล
               -  สามเหลี่ยมแสนกล 1
               -  สามเหลี่ยมแสนกล 2
               -  สามเหลี่ยมแสนกล 3
               -  สามเหลี่ยมแสนกล 4
               -  สามเหลี่ยมแสนกล  5
               -  สี่เหลี่ยมแสนกล 1
               -  สี่เหลี่ยมแสนกล  2
               -  สี่เหลี่ยมแสนกล  3
               -  สี่เหลี่ยมแสนกล  4
               -  สี่เหลี่ยมแสนกล  5
               -  สี่เหลี่ยมแสนกล  6
               -  หกเหลี่ยมแสนกล1
                  - 
หกเหลี่ยมแสนกล 2

เกมที่ 17  - รูปเรขาพาให้เก่ง (1)
                 - รูปเรขาพาให้เก่ง (2)
เกมที่ 18  เลข 9  อัศจรรย์
เกมที่ 19  เกมสามเหลี่ยมมหัศจรรย์
เกมที่ 20  ตัวเลขมหัศจรรย์
               -ชุดที่ 1                  -  ชุดที่ 2
                  -  ชุดที่ 3
                 
-  ชุดที่ 4
                 
-  ชุดที่ 5
                 
-  ชุดที่ 6
                 
-  ชุดที่ 7
                  -  ชุดที่ 8
                  -  ชุดที่ 9
                  -  ชุดที่ 10
                  -  ชุดที่ 11
                  -  ชุดที่ 12
                  -  ชุดที่ 13
                  -  ชุดที่ 14
                  -  ชุดที่ 15
                  -  ชุดที่ 16
                  -  ชุดที่ 17
                  -  ชุดที่ 18

                  -  ชุดที่ 19
                  -  ชุดที่ 20
                  -  ชุดที่ 21
เกมที่ 21  ไขปัญหาฝาเบียร์
              -  ชุดที่ 1
              -  ชุดที่ 2
              -  ชุดที่ 3
              -  ชุดที่ 4
              -  ชุดที่ 5
เกมที่ 22  ปริศนาลูกศร
              -  ชุดที่ 1
              -  ชุดที่ 2
              -  ชุดที่ 3
              -  ชุดที่ 4
              -  ชุดที่ 5
เกมที่  23   เกมสองบาทห้าสิบ
เกมที่  24   เกม โอ-เอกซ์
เกมที่  25  
ปริศนาก้านไม้ขีด
              - 
ชุดที่ 1
              -  ชุดที่ 2
เกมที่  26  - IQ.games
เกมที่  27  - เลขปริศนา
เกมที่  28  -  สัตว์ชวนคิด
เกมที่  29  เกมรอบรู้รอบคิด               -  เกมที่ 1
               -  เกมที่ 2
               -  เกมที่ 3
เกมที่  29 
เกมกระดานหก-กระดกกล
เกมที่  30  เกมตาชั่งแสนกล
เกมที่  31  เกมน่าลองน่าคิด
เกมที่  32  เกม diffy board
เกมที่  33  เกมลูกบาศก์พาเพลิน
               -  ชุดที่  1
               -  ชุดที่  2

               -  ชุดที่  3
               -  ชุดที่  4
เกมที่  33  เกมต้อนสัตว์เข้าคอก
เกมที่  34  เกมปริศนารูปห้าเหลี่ยม

คณิตศาสตร์ในชีวิตประจำวัน

การประยุกต์สถิติในชีวิตประจำวัน
ความน่าจะเป็นของเหตุการณ์
วิธีการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสิ้นปีจะต้องทำอย่างไร?
 

เรียนคณิตศาสตร์อย่างไรให้เก่ง

เคล็ดลับเก่งคณิตศาสตร์
1. ไม่มองข้ามนิยามต่างๆ

   ถึงแม้ว่าจะอ่านนิยามต่างๆเป็นสิบรอบแล้วก็ยังงงเหมือนเดิม ก็ต้องทำความเข้าใจกับมันอยู่ดี เพราะมันเป็นพื้นฐานที่สำคัญของคณิตศาสตร์ สูตรทุกสูตรไม่ว่าจะเป็นสูตรมาตรฐานหรือสูตรลัด ต่างคิดขึ้นมาจากนิยามทั้งนั้น หากรู้นิยามแล้ว หากไม่มีสูตรก็สามารถแก้โจทย์ปัญหาทางคณิตศาสตร์ได้ หรือแม้กระทั่งคิดสูตรลัดส่วนตัวขึ้นมาเอง ก็ย่อมได้

2. เข้าใจทฤษฎีบท สูตร หรือสมบัติต่างๆ และพลิกแพลงใช้ให้เป็น
   ทฤษฎี บท สูตร หรือสมบัติต่างๆ นั้นคือสิ่งเดียวกัน ซึ่งหมายถึงข้อเท็จจริงที่ต้องมีการพิสูจน์และยอมรับว่าเป็นจริง จึงจะนำมาใช้ได้ ซึ่งต่างจากบทนิยามเพราะบทนิยามเป็นสิ่งที่กำหนดขึ้นมาให้ยอมรับร่วมกันโดย ไม่ต้องพิสูจน์
หลายคนเรียนคณิตศาสตร์ไม่เข้าใจเพราะเป็นกังวลกับการท่องจำสูตร ซึ่งแท้จริงแล้วการจำสูตรหรือทฤษฎีได้หรือไม่นั้นเป็นเรื่องรอง แต่เรื่องหลักที่ต้องให้ความสำคัญก่อนจะเริ่มจำสูตรคือ จะต้องเข้าใจว่า ทฤษฎีบทนี้ใช้เมื่อใด? และใช้อย่างไร?

3. ท่องจำบ้างในบางโอกาส แต่เอาเฉพาะที่จำเป็น
   อย่างน้อยๆก็ต้องจำนิยามหรือสูตรเบื้องต้นต่างๆ โดยควรจำอย่างมีเทคนิคและเป็นระบบ อย่าจำวิธีแก้สมการ เพราะถ้าเจอโจทย์ที่ถามอย่างอื่นมาแล้วจะถึงขั้นไปไม่เป็นเลยทีเดียว

4. ฝึกทำโจทย์บ่อยๆ
   การฝึกทำโจทย์บ่อยๆนั้นใช้ได้ในชีวิตจริงและในวิชาเรียนทุกๆวิชา โดยเฉพาะวิชาทางด้านคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ถ้าหมั่นฝึกฝนบ่อยๆ จะช่วยให้จำน้อยลง เพราะเทคนิคหรือนิยามต่างๆจะถูกฝังเข้าไปในหัวเราแบบอัตโนมัติ แบบที่ไม่ต้องท่องก็จำได้ แล้วการแก้ปัญหาโจทย์มากๆ ยังช่วยให้ความสามารถในการแก้ปัญหาของเราสูงขึ้นด้วย ไม่ใช่แค่ในเรื่องการเรียน แต่รวมถึงเรื่องทั่วๆไปในชีวิต ที่เราสามารถแก้ปัญหาได้ดีขึ้นด้วย

5. เสริมสร้างความคิดสร้างสรรค์
   โดยส่วนมากแล้ว แต่ละปัญหาจะมีวิธีแก้หลายวิธี และนักแก้ปัญหาที่ดีจะต้องมีความยืดหยุ่น สามารถมองถึงว่ามีกี่วิธีที่สามารถแก้ปัญหาได้ แต่ละวิธีมีข้อดีข้อเสียอย่างไร และดึงวิธีแก้ปัญหาที่ดีที่สุดมาใช้ จะทำให้เกิดผลสำเร็จสูงสุด

6. ฝึกวินัย
   นอนให้ตรงเวลา เข้าเรียนให้ตรงเวลา ทำการบ้านทุกวัน อย่าผลัดวันประกันพรุ่งโดยคิดว่าอ่านวันหลังก็ได้ ทำทีหลังก็ได้ เพราะว่ามันจะทำให้ติดเป็นนิสัย แล้วจนแล้วจนรอดที่ผลัดไว้ก็ไม่ได้ทำสักที หรือไม่ก็มาทำเอาวันสุดท้ายหลายๆงาน ทำให้งง ความรู้ตีกันวุ่น จนสุดท้ายก็เกิดความคิดว่า รู้งี้ทำซะตั้งแต่วันแรกแล้ว

โดย tewmathonline จาก http://iam.hunsa.com/tewmathonline/article/68624

  1. เวลาฟังครู หรือเวลาอ่าน ต้อง คิด ถาม จด ถ้าไม่เข้าใจควรจดคำถามไว้เพื่อคิดค้น คว้า หรือถามผู้รู้ต่อไป
  2. หมั่นดูหนังสือหรือทำการบ้านอย่างมีประสิทธิภาพ ควรหามุมอ่านหรือทำการบ้านที่เหมาะสมกับตนเอง
  3. จัดเวลาสำหรับทบทวนสิ่งที่เรียนมา หรืออ่านล่วงหน้าสิ่งที่จะเรียนต่อไป และถ้าปฏิบัติ ตามที่กำหนดได้ควรให้รางวัลตัวเอง เช่น ได้ขนม ได้เล่น ได้ฟังเพลง ดูทีวีได้เล่นกีฬา เป็นต้น ถ้าทำไม่ได้ตามกำหนดควรหาเวลาชดเชย
  4. ทบทวนความรู้กับเพื่อน อย่าหวงวิชา แบ่งปันความรู้อธิบายให้กันและกัน อย่าช่วยเหลือเพื่อนในทางที่ผิด เช่น ทุจริตเวลาสอบ หรือให้ลอกงานโดยไม่เข้าใจ
  5. ศึกษาด้วยตนเอง มิใช่ต้องเรียนจากครูเพียงอย่างเดียว การศึกษาด้วยตนเองจาก ตำราหลาย ๆ เล่ม ต้องทำความเข้าใจจดสาระสำคัญต่าง ๆ ลงในโน้ตย่อ จดสิ่งที่ ไม่เข้าใจไว้ค้นคว้าต่อไป ถ้าต้องการวชาญคณิตศาสตร์ ต้องหมั่นหาโจทย์แปลก ใหม่มาทำมาก ๆ เช่นโจทย์แข่งขัน เป็นต้น
 
ขอบคุณที่มา : sakid.com
 ลิงค์ : http://guru.thaibizcenter.com/articledetail.asp?kid=3075

คณิตศาสตร์กับICT

คณิตศาสตร์กับ  ICT   
           นักเรียนเรียนสนุก ชอบไม่น่าเบื่อ............. ด้วย โปรแกรม  GSP  เพราะสามารถมาใช้อธิบายเนื้อยากๆให้เป็นรูปธรรม
             GSP เป็นโปรแกรมที่ครูสามารถนำไปใช้เป็นเครื่องมือเพื่อช่วยให้การเรียนการสอนคณิตศาสตร์  มีประสิทธิภาพ และน่าสนใจมาก สามารถนำเสนอภาพเคลื่อนไหว (animation)
มาใช้อธิบายเนื้อหาที่ยาก ๆ ให้เป็นรูปธรรม ให้นักเรียนได้เรียนรู้และเข้าใจง่ายและโปรแกรมยังเน้นให้ผู้เรียนฝึกปฏิบัติด้วย ตัวเองได้ นอกจากนี้ยังสามารถนำไปใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนวิชาอื่น ๆ เช่น วิทยาศาสตร์ ศิลปะ อย่างไม่มีข้อจำกัด
            The Geometer’s Sketchpad (GSP) เป็นซอฟต์แวร์ที่เป็นพลวัตร ที่ช่วยทำให้ผู้เรียนมีโอกาส สำรวจและค้นพบแนวคิดต่างๆในวิชาเรขาคณิต พีชคณิต การใช้GSPทำให้การสอนคณิตศาสตร์     ง่ายต่อความเข้าใจ ทำให้ผู้เรียนเกิดทักษะในการนึกภาพในสมอง ของตนเอง  เกิดทักษะการสร้างตัวแบบเชิงคณิตศาสตร์    ทำให้มีทักษะการคาดเดา    ที่สามารถนำไปสู่การพิสูจน์